วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะหมีแพนด้า


ลักษณะทั่วไป
แพนด้ายักษ์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความน่ารักมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก คนส่วนใหญ่คิดว่าแพนด้ายักษ์เป็นสัตว์อ้วนเตี้ยอุ้ยอ้ายแสนน่ารัก แต่ที่จริงแล้วแพนด้ายักษ์ก็เป็นอันตรายเช่นเดียวกับหมีชนิดอื่น ๆ มีรูปร่างคล้ายหมี มีขนสีดำที่บริเวณหู, รอบดวงตา, รอบปากและจมูก, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายปกคลุมด้วยขนสีขาว นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบเหตุผลที่แน่นอนว่าทำไมแพนด้ายักษ์จึงมีขนสีขาวดำแปลกประหลาดเช่นนี้ บางคนคิดว่าลักษณะเช่นนี้เป็นประโยชน์ในการพรางตัวบริเวณร่มเงาในสิ่งแวดล้อมที่เป็นหิมะและภูเขา ขนหนาและปุกปุยของมันช่วยเก็บรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้ดีแม้อากาศจะหนาวจัด แพนด้ายักษ์มีฟันกรามขนาดใหญ่และกระดูกขากรรไกรแข็งแรงที่สามารถบดลำไม้ไผ่ให้แตกได้ แพนด้ายักษ์มีขนาดใกล้เคียงกับหมีดำของอเมริกา เมื่อมันยืนสี่ขาจะมีความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ประมาณ 2-3 ฟุต มีความยาวประมาณ 4-6 ฟุต ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และอาจมีน้ำหนักมากกว่า 115 กก.สำหรับแพนด้ายักษ์ที่อาศัยในป่า ส่วนตัวเมียส่วนมากจะมีน้ำหนักไม่ถึง 100 กก.

ถิ่นอาศัย, อาหาร
แพนด้ายักษ์กระจายพันธุ์ในแนวเทือกเขาทางตอนกลางของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในมณฑลเสฉวน, ชานซี และกานสู ในอดีตแพนด้ายักษ์เคยกระจายพันธุ์ลงมาถึงบริเวณที่ราบต่ำ แต่เพราะการตัดไม้ทำลายป่า, การขยายพื้นที่เกษตรกรรม และการพัฒนาพื้นที่ ทำให้ปัจจุบันแพนด้ายักษ์ถูกจำกัดการกระจายพันธุ์ให้เหลือเฉพาะในเทือกเขาเท่านั้น แพนด้ายักษ์อาศัยอยู่ในป่าสนและป่าไม้ใบกว้าง (broadleaf) ที่มีต้นไผ่อยู่หนาแน่นที่ระดับความสูง 5,000-10,000 ฟุต บริเวณนี้มีฝนตกหนัก และหมอกหนาปกคลุมตลอดปี สำหรับประเทศไทยได้มีการค้นพบฟอสซิลของแพนด้าที่จังหวัดลำปาง
อาหารส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 99) ของแพนด้ายักษ์ที่อาศัยในป่าธรรมชาติคือไผ่ นอกนั้นก็จะเป็นหญ้าชนิดอื่นๆ อาจพบว่ามันกินสัตว์เล็ก เช่น สัตว์ฟันแทะขนาดเล็กหรือลูกของกวางมัสก์ (Musk Deer) บ้างเป็นครั้งคราว ส่วนอาหารของแพนด้ายักษ์ในสวนสัตว์ได้แก่ ไผ่, อ้อย, ธัญพืช, บิสกิตชนิดพิเศษที่มีเส้นใยสูง, ผลไม้และผัก เช่น แครอท, แอปเปิ้ล และมะเขือเทศ

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
โดยปกติแพนด้ายักษ์ที่โตเต็มวัยแล้วจะอยู่เพียงลำพัง แต่ก็มีการติดต่อสื่อสารกับแพนด้ายักษ์ตัวอื่นบ้างเป็นช่วงๆ โดยใช้การสื่อสารด้วยสารเคมีจากต่อมกลิ่น, เสียงร้อง และการพบปะกันบ้างเป็นครั้งคราว แพนด้ายักษ์ในป่าธรรมชาติใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาอาหาร, กินอาหาร และการพักผ่อน มันไม่จำศีล (hybernation) เหมือนหมีชนิดอื่นๆในป่าเขตอบอุ่น ในอดีตนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแพนด้ายักษ์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ตามลำพัง มีการพบปะของตัวเมียและตัวผู้เฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น แต่จากการศึกษาในปัจจุบันค้นพบบางสิ่งที่แตกต่างออกไปคือพบว่า แพนด้ายักษ์จะอาศัยเป็นกลุ่มเล็กๆ ในอาณาเขตกว้างใหญ่ และบางครั้งจะมีการพบปะกันบ้างนอกฤดูผสมพันธุ์ ยังคงมีการศึกษาอยู่ต่อไปเกี่ยวกับความลับในการดำรงชีวิตของสัตว์ที่ยากจะเข้าใจชนิดนี้ การค้นพบใหม่ ๆ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอนุรักษ์แพนด้ายักษ์ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ สำหรับเรื่องอายุขัยมีรายงานว่าแพนด้ายักษ์ในกรงเลี้ยงมีอายุประมาณ 35 ปี และพบว่า “ชิงชิง” (Hsing-Hsing) แพนด้ายักษ์ที่อาศัยในสวนสัตว์แห่งชาติตายเมื่อ ค.ศ. 1999 ขณะมีอายุได้ 28 ปี นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบข้อมูลแน่นอนเกี่ยวกับอายุขัยของแพนด้ายักษ์ที่อาศัยในป่าธรรมชาติ ทราบแต่เพียงว่าสั้นกว่าอายุขัยของแพนด้ายักษ์ในกรงเลี้ยง
แพนด้ายักษ์มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น เป็นช่วงเวลาสั้นๆเพียง 2-3 วัน ที่ตัวเมียมีความต้องการจะผสมพันธุ์และสามารถตั้งท้องได้ ในช่วงเวลานั้นจะมีการสื่อสารโดยใช้เสียงร้องและกลิ่นเพื่อดึงดูดให้ตัวเมียและตัวผู้มาพบและผสมพันธุ์กัน แพนด้ายักษ์จะโตเต็มวัยพร้อมจะผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 4-8 ปี ตัวเมียจะตั้งท้องประมาณ 95-160 วัน อาจจะตกลูกได้ครั้งละ 2 ตัว แต่โดยปกติจะมีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิต ลูกแพนด้ายักษ์จะอยู่กับแม่ไปจนกระทั่งอายุประมาณ 1.5 - 3 ปี แล้วจึงแยกตัวออกไป ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่แพนด้ายักษ์ตัวเมียจะสามารถมีลูกได้ก็คือทุก 2-3 ปี ดังนั้นตลอดชีวิตของมันก็อาจประสบความสำเร็จในการตกลูกได้เพียง 5-8 ตัว

สภาพปัจจุบัน
มีประชากรแพนด้ายักษ์หลงเหลือในป่าธรรมชาติประมาณ 1,000 ตัว และมีประชากรในกรงเลี้ยงตามสวนสัตว์และสถานที่เพาะเลี้ยงอื่น ๆ อีกประมาณ 140 ตัว ซึ่งส่วนมากอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน แพนด้ายักษ์จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะวิกฤติเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง

หมีแพนด้า” ทั่วโลกเหลือ1.6พันเสี่ยงสูญพันธุ์

เจาะลึกชีวิต”หมีแพนด้า” ทั่วโลกเหลือ1.6พันเสี่ยงสูญพันธุ์ 2011/01/27
วันที่ 14/6/2009
ผ่านทางแนวหน้า มั่นคง ตรงไป ตรงมา.

หลังจากทางการจีนได้ส่งมอบแพนด้า 1 คู่ คือ “ช่วงช่วง” เพศผู้ อายุ 2 ปี กับ “หลินฮุ่ย” เพศเมีย อายุ 1 ปี ในฐานะทูตสันถวไมตรี จนการกำเนิดของ”แพนด้าน้อย”ทายาททูตสันถวไมตรี กลายเป็นขวัญใจคนไทยไปแล้ว และเป็นความยิ่นดีของสันถวไมตรีเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
“แพนด้า”ที่หลายคนให้ความสนใจกลายเป็น”กระแสฟีเว่อร์”นั้น ปัจจุบันแพนด้า เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก และ”มีลูกยาก” ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ภูเขา เช่น มณฑลเสฉวน ซานซี กานซู และทิเบต ประเทศจีนเท่านั้น
ประเทศจีน ถือ เป็นสัตว์มงคลของประเทศในศตวรรษที่20 แพนด้าได้กลายเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศจีน และประเทศจีนได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ในระหว่างวันที่ 8 – 24 สิงหาคม 2551 และภาพแพนด้ายังได้อยู่บนเหรียญทองของจีนด้วย

โดยในปัจจุบันพบอยู่เฉพาะในป่าไผ่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเท่านั้น และเหลืออยู่จำนวนน้อยมากจนอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์แล้วด้วย เนื่องจากพื้นที่ป่าไผ่ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยที่สำคัญของพวกเขาได้ถูกทำลายลงกว่า 50% ทั้งยังถูกตามล่าอยู่ตลอด แม้ว่ารัฐบาลจีนจะกำหนดโทษสำหรับผู้ล่าแพนด้าสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิตเลยก็ตาม นั่นก็ด้วยราคาค่าตัวที่แพงถึง 10 ล้านบาท ในญี่ปุ่นสำหรับหนังของแพนด้า 1 ผืน นั่นเอง
รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญกับการวิจัย และสำรวจหมีแพนด้ามาก มีการตั้งศูนย์เพาะพันธุ์หมีแพนด้าในมณฑลเสฉวน ทั้งนี้ จีนสร้างศูนย์ดังกล่าวขึ้นมา เพื่อเพิ่มประชากรหมีแพนด้าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ มีเนื้อที่หนึ่งตารางกิโลเมตร ศูนย์เพาะพันธุ์แห่งนี้อาจได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลก
โดยรัฐบาลให้สนับสนุนให้มีการสำรวจมาโดยตลอด จากการสำรวจครั้งที่3 ระหว่างปี พ.ศ. 2541-2543 โดยความร่วมมือของ WWF กับกระทรวงบริหารจัดการป่าไม้แห่งรัฐของจีน ซึ่งได้ใช้บุคลากรทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักอนุรักษ์ และทีมสำรวจจำนวนมาก ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านดาวเทียม จากการประมวลผลการสำรวจครั้งล่าสุดในปี 2547 ทำให้ทราบว่า มีแพนด้ายักษ์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติเพิ่มขึ้นถึงกว่า 40% หรือเพิ่มขึ้นเป็น 1,600 ตัว แล้วในปัจจุบัน

“แผ่นดินไหวส่งผลต่อการสืบพันธุ์”…!!!
จนกระทั่งเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของประเทศจีน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 7.8 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางการสั่นสะเทือนอยู่ลึกใต้ดิน 29 กม. และห่างจากเมืองเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวน ขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 92 กม. แรงสั่นสะเทือนลามไปไกลถึงนครเซี่ยงไฮ้ ทางภาคตะวันออก
แต่ความเสียหายจากแผ่นดินไหวในเสฉวน ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเมืองเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงภูเขา และป่าลึก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของแพนด้าเช่นกัน เรื่องนี้อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของแพนด้า ในป่าลึกของมณฑลเสฉวน เป็นถิ่นอาศัยของหมีแพนด้าเกือบ 1,600 ตัว ซึ่งด้วยสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของแพนด้า จีนได้เข้าไปสร้างศูนย์เพาะพันธุ์หมี ถึง 2 แห่งในว่อหลงและเฉิงตู ก่อนที่จะนำออกปล่อยสู่ธรรมชาติ เพื่อเพิ่มจำนวนหมีในป่าธรรมชาติ
ปัญหาที่พบขณะนี้ คือ การส่งไม้ไผ่ลูกศรที่เป็นอาหารหลักของหมีแพนด้ากลายเป็นคำถามใหญ่ หลังจากเส้นทางเข้าถึงเขตอนุรักษ์ว่อหลง ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว ไม้ไผ่ลูกศรเป็นอาหารโปรดของแพนด้าในป่าไผ่พื้นที่ 350,000 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนมากที่พร้อมใจกันออกดอก และตายขุยลงก่อนที่จะผลิตไผ่รุ่นใหม่ ทำให้หมีจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานไปหาแหล่งอาหารอื่น มณฑลเสฉวนนั้นมีอาณาเขต 485,000 ตารางกิโลเมตร และมีป่าสงวนขนาดต่างๆ 40 แห่ง ซึ่งปกติแล้วแพนด้าจะเคยชินกับการกินไผ่เพียงชนิดเดียว และแทบไม่เปลี่ยนไปกินไผ่ชนิดอื่น

ใบไผ่จะมีโปรตีนมากกว่ากิ่งไผ่ ป่าไผ่แต่ละพันธุ์จะมีวงจรการเกิดและตายพร้อมกัน เมื่อไม้ไผ่ชนิดหนึ่งตายไปหมด ทำให้หมีแพนด้าจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อหาป่าไผ่ชนิดใหม่เป็นอาหาร หมีแพนด้าแต่ละตัว จึงต้องมีไผ่อย่างน้อย2ชนิดเป็นอาหาร จึงประสบปัญหาสถานการณ์ของหมีแพนด้าที่กำลังขาดแคลนอาหารได้
จากการ”ใกล้สูญพันธุ์”ของ “แพนด้า” จึงเป็นที่ “ฮือฮา”กับการเกิด “แพนด้าน้อย” ของ “หลินฮุ่ย” เบ่งลูกตัวน้อยออกมา ทั้งที่อัลตราซาวนด์ไม่พบมาก่อน โดยการกำเนิดแพนด้า ทายาททูตสันถวไมตรี จึงน่าตื่นเต้นกันคนไทยทั้งชาติ สำหรับทูตสันถวไมตรีระหว่างไทย-จีน
แต่ตามสัญญาที่ตกลงกับประเทศจีนนั้น แพนด้าที่ส่งมอบมาจะอยู่ในประเทศไทยได้ 10 ปี หากแพนด้าที่มอบมาให้กำเนิดลูกก็จะต้องส่งคืนให้จีนภายใน 2 ปี นอกจากนี้ไทยต้องจ่ายเงินจำนวน 1.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 4-5 ล้านบาท แบ่งจ่ายเป็น 2 งวด ให้แก่จีน โดยงวดแรกจะต้องจ่ายภายใน 30 วัน หลังจากแพนด้าน้อยให้กำเนิดหรือจ่ายช้าได้ไม่เกิน 10 วัน เป็นจำนวนเงิน 7.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ ส่วนงวดที่สองจะจ่ายภายในปีที่สอง โดยเงินจำนวนดังกล่าวเป็นไปตามข้อตกลงของโครงการวิจัยและจัดแสดงแพนด้าในประเทศไทยที่ทำตามข้อตกลงของรัฐบาลไทย-จีน เพื่อเป็นการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือแพนด้าที่อาศัยตามธรรมชาติในประเทศจีน
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนของหมีแพนด้าจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังคงไว้วางใจไม่ได้ เพรายังคงถูกคุกคามอย่างหนักจากผู้ที่เห็นแก่ตัวด้วยการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นที่อาศัยของหมีแพนด้าและการล่าเพื่อขายในราคาสูง ตราบใดที่ผู้คนเหล่านี้ยังไม่หมดสิ้นไปและยังไร้จิตสำนึกอยู่เช่นนี้สถานการณ์ที่หมีแพนด้าจะสูญพันธุ์ไปในที่สุด ก็มีโอกาสเป็นไปได้ และเมื่อวันนั้นมาถึง ภาพของหมีแพนด้า คงจะมีให้เห็นเพียงในภาพวาดหรือจินตนาการของเด็กเท่านั้น

การอนุรักษ์หมีแพนด้า



การอนุรักษ์หมีแพนด้า

แพนด้ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailuropoda melanoleuca ซึ่งแปลว่าสัตว์ที่มีเท้ามีสีขาว-ดำเหมือนแมว เป็นสัตว์ที่พบใน ประเทศจีนเท่านั้นและคนจีนเรียกแพนด้าว่า Da xiong mao ซึ่งหมายถึงหมีแมวที่มีขนาดใหญ่ นักชีววิทยาสัตว์ดึกดำบรรพ์ ได้พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบรรพสัตว์ของแพนด้าได้เคยมีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อ 3 ล้านปีก่อนนี้ และประวัติศาสตร์จีนก็ได้เคยบันทึกว่า เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว ในสมัยของราชวงศ์ Zhou ได้มีการกล่าวถึงหมีแพนด้าว่า มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบภูเขา Qionglai ของมณฑล Yandao

ณ วันนี้ โลกมีแพนด้าเหลืออยู่เพียงประมาณ 1,000 ตัวเท่านั้นเอง และ 20 ตัว อาศัยอยู่ในสวนสัตว์นอกประเทศจีน ส่วนที่เหลืออยู่ ในสวนสัตว์จีนบ้างและอยู่ในป่าบ้าง โดยเฉพาะในบริเวณจีนตอนกลางที่มีภูเขาสูง ที่ที่มันชอบอยู่คือที่ระดับความสูง 1,500-3,000 เมตร ซึ่งมีเมฆหมอกปกคลุมตลอดเวลา



มันชอบกินไผ่และลำต้นไผ่เป็นอาหารประมาณวันละ 10-20 กิโลกรัม เพราะใบ ไผ่มีคาร์โบไฮเดรท โปรตีน และเกลือแร่มากกว่าต้นไผ่ ดังนั้นการไร้ซึ่งใบไผ่ จะทำให้มันไร้ซึ่งชีวิตด้วย ตามปกติแพนด้าไม่ใช่สัตว์กินพืชแต่เป็นสัตว์กินเนื้อ แต่เมื่อมันเป็นสัตว์ที่เชื่องช้า การไล่ล่าจับสัตว์อื่นเป็นอาหารจึงทำได้ยาก ดังนั้น มันจึงหันมาบริโภคพืชแทน แพนด้าชอบน้ำผึ้งเหมือนสัตว์ตระกูลหมีชนิดอื่นๆ และใช้เวลาหาอาหารวันละประมาณ 14 ชั่วโมง ส่วนอีก 10 ชั่วโมงที่เหลือ เป็นเวลานอน
ภาพจาก : http://www.wnf.nl/speer/dieren/panda/panda.htm

นักชีววิทยาได้สังเกตเห็นว่า มือของแพนด้ามีนิ้ว 6 นิ้ว ซึ่งช่วยให้มันสามารถจับยึดกิ่งไผ่ได้กระชับและคล่อง และแพนด้าตัวเมีย มักชอบสืบพันธุ์กับตัวผู้ที่มีความเป็นนักกีฬาสูง เพราะเหตุว่าพื้นที่ที่แพนด้าใช้ในการหาอาหารนั้น กว้างใหญ่ไพศาลคือมีขนาดตั้งแต่
4.0-6.6 ตารางกิโลเมตร และตัวมันมีจำนวนน้อย ดังนั้น โอกาสที่ตัวผู้กับตัวเมียจะไม่ได้พบกันจึงสูง แต่เมื่อถึงเวลาสืบพันธุ์ตัวเมีย จะส่งเสียงเรียกร้องเหมือนแกะ และใช้กลิ่นในการสื่อสาร โดยมันจะขับฮอร์โมนความต้องการทางเพศออกมาจากต่อมที่อยู่บริเวณ ฐานหางของมัน แล้วลูบไล้ฮอร์โมนนี้ตามบริเวณโคนต้นไม้ เพื่อบอกตัวผู้ถึงสภาพของมันว่า พร้อมสำหรับการผสมพันธุ์แล้ว เมื่อแพนด้าตัวผู้ได้กลิ่นนี้ มันก็สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นกลิ่นของแพนด้าตัวเมียตัวใดที่ส่งข่าวถึงมัน

ระบบฮอร์โมนของแพนด้าก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเช่นกัน เพราะตัวเมียจะตกไข่ประมาณปีละครั้งเท่านั้นเอง นักชีววิทยาได้สังเกต เห็นว่าเวลาตัวผู้ได้กลิ่นเพศจากตัวเมีย มันมักมีอารมณ์เพศรุนแรง แต่ก็ใช้เวลาสั้นมากเพียงครั้งละ 30-60 วินาที และเมื่อเสพสม แล้วแพนด้าตัวผู้ก็จะเดินกลับเข้าป่าไผ่เพื่อดำรงชีวิตแบบแพนด้าโสดอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งถึงเวลาที่แพนด้าตัวเมียหลั่งฮอร์โมนอีก ในปีต่อไปและตามปกตินั้นแพนด้าจะผสมพันธุ์กันระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม มันใช้เวลาในการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3-6 เดือน จึงคลอดในราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ลูกแพนด้ามีลำตัวยาวและหนักเพียง 0.5 กิโลกรัม คือหนักเพียง 1/900 เท่า ของน้ำหนักตัวแม่มัน ผิวมีสีชมพู ไม่มีขนตามตัว ตาของลูกแพนด้าแรกเกิดจะปิดตลอดเวลา จนกระทั่งอีก 1 เดือนต่อมา ตาจึงเปิดตามปกติ แพนด้าจะคลอด ลูกคราวละ 2 ตัว แต่แม่แพนด้ามักเลือกลูกของมันเพียงตัวเดียวเพราะมันพบว่าภาระในการเลี้ยงดูลูกอ่อนนานตั้ง 4-5 เดือนนั้น หนักเกินไปสำหรับลูก 2 ตัว ดังนั้น มันจึงปล่อยให้ตัวหนึ่งตายไปอย่างจงใจ

ตามปกติแพนด้าเป็นแม่ที่ดี มันจะเลี้ยงลูกอย่างทะนุถนอมนานถึง 1 ปีครึ่ง ซึ่งนับว่านานกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ และเวลา มันให้อาหารมันจะอุ้มลูกน้อยของมันแนบอกเหมือนคน

แพนด้าป่วยเป็นโรคได้ง่ายเหมือนสัตว์ชนิดอื่น โรคที่มักพบเห็นบ่อยคือ โรคพยาธิ โรคระบบหายใจ ระบบการย่อยอาหาร สมองอักเสบ และโรคโลหิตจาง แพนด้าที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนมีอายุยืนประมาณ 30 ปี ในขณะที่แพนด้านอกประเทศมีอายุยืนเพียง 14 ปีเท่านั้นเอง

แพนด้าตัวผู้เป็นสัตว์สันโดษที่ไม่ชอบต่อสู้กันแต่ชอบอยู่ห่างกัน ส่วนตัวเมียนั้นดุกว่าและสู้กันบ่อย เวลาแพนด้าต่างเพศถูกจับขังรวมกัน หากเข้ากันไม่ได้มันจะสู้กัน หรือไม่เช่นนั้นตัวผู้ก็จะเดินหนีไป แต่ถึงแม้นิสัยจะเข้ากันได้ มันก็แทบจะไม่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกัน ผู้ดูแลสวนสัตว์ได้พบว่า 70% ของแพนด้าตัวเมียที่ได้รับการเลี้ยงดูในสวนสัตว์ไม่มีระดู และ 90% ของตัวผู้ที่ถูกเลี้ยงปฏิเสธการจับคู่ และนี่ก็คือเหตุผลหนึ่งที่มีส่วนในการทำให้ประชากรแพนด้าลดจำนวนลง

ในปี พ.ศ. 2527 เมื่อโลกตระหนักว่า แพนด้าเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ รัฐบาลจีนภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ จึงได้จัดตั้ง Research Center for the Protection of the Giant Panda and Its Ecosystem ขึ้น Wolong Reserve ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1 ล้านไร่ เพื่อสงวนและอนุรักษ์แพนด้า เพราะได้พบว่า แพนด้าถูกลอบยิงและการสูญเสียป่าไผ่ ได้คุกคามชีวิตของแพนด้ามาก ณ วันนี้ตลาดฮ่องกง ไต้หวันและญี่ปุ่นซื้อขายหนังแพนด้าในราคาสูงถึง 500,000 บาท เงินมหาศาลเช่นนี้ได้ทำให้คนบุกรุกเข้าไปในที่ที่มันอาศัยอยู่ การตัดป่าไผ่ การสร้างบ้านพักที่ระเกะระกะทำให้ป่าถูกแยกออกเป็นส่วนๆ เมื่อเนื้อที่ป่าถูกจำกัด แพนด้าจึงถูกบังคับให้ผสมพันธุ์กันเอง ทำให้สายพันธุ์เสื่อมและแพนด้าตัวเมียตั้งครรภ์น้อย รัฐบาลจีนจึงได้ตั้ง มาตรการขอร้องให้ประชาชนจีนอพยพออกจากป่าสงวนของแพนด้า โดยให้เงินเป็นสินน้ำใจทั้งนี้ก็เพื่อทำให้พื้นที่ป่าสำหรับแพนด้า เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 70%

ในวารสาร Science ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 Jianguo Liu แห่งมหาวิทยาลัย Michigan State ในสหรัฐอเมริกา ได้รายงานว่า ขณะนี้ป่าไผ่ในประเทศจีนได้ลดขนาดลงมาก โดยเฉพาะที่ป่า Wolong ซึ่งต้นไผ่ที่นั่นในแต่ละปีได้ลดจำนวนลง เร็วกว่าที่คาดหวังมาก เหตุการณ์เช่นนี้จึงนับว่าเป็นภัยต่อการอยู่รอดของแพนด้ามาก และเท่านั้นยังไม่พอ J. Liu ยังได้สำรวจพบอีกว่า ในแต่ละปีที่เลี้ยงแพนด้านี้มีคน 140,000 คน มาเยี่ยมเยือน จำนวนคนที่มากมหาศาลนี้ทำให้ชีวิตของแพนด้าไร้ความสงบสุข และการออกลูกหนึ่งครั้งในทุกๆ 2 ปี ก็มีส่วนทำให้แพนด้าสืบพันธุ์ได้น้อย การถูกลอบยิงทั้งๆ ที่รัฐบาลจีนประกาศลงโทษคนยิง โดยให้ติดคุก 2 ปี ก็ไม่รุนแรงพอ และฟางเส้นสุดท้ายที่จะทำให้แพนด้าสูญพันธุ์เร็วก็คือ การที่คนจีนได้อพยพไปอาศัยอยู่ในพื้นป่า มาย่างหมูเป็นอาหารขายนักท่องเที่ยวกันจนป่าไผ่ได้ลดขนาดไปทุกวัน

หนทางเดียงที่ J. Liu คิดว่าจะทำให้แพนด้าไม่สูญพันธุ์คือ ต้องสร้างป่าให้แพนด้าได้อาหารและที่อยู่อาศัย ต้องจำกัดจำนวนคน ที่จะแวะเยือนป่าแพนด้า เพื่อให้แพนด้ามีอารมณ์สงบพอที่จะสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ และถ้าสองมาตรการนี้ล้มเหลว วิธีสุดท้ายก็คือ การเชื้ออสุจิและไข่ของแพนด้ามาผสมเทียม และการทำโคลนนิ่งครับ





                                            

ประวัติคนสร้างสรรค์

ประวัติคนสร้างสรรค์

                                          ประวัติส่วนตัว

                                         นางสาวสุกัญญา      มาอินทร์

                                         เลขที่20   ชั้น4/7
                      
                                        เกิดวันที่3  เดือนกันยายน   2538

                                         ที่อาศัย

บ้านข้ามฆ้อง        บ้านเลขที่13   หมู่2           ตำบลพิมายเหนือน   อำเภอปรางค์กู่     จังหวัดศรีสะเกษ

อาหารที่ชอบ

ปลาทอด

วิชาที่ชอบ

วิทย์

งานอดิเรก

ดูหนังฟังเพลง

ประวัติส่วนตัว

นางสาวสุกัลยา    พงษ์สุวรรณ

เลขที21

ที่อาศัย

บ้านหนองนกทา

บ้านเลที่40

หมู่  9

ตำบลสมอ    อำเภอปรางค์กู่      จังหวัดศรีสะเกษ

เกิดวันที่   25    เดือนสิงหาคม    2538

อาหารที่ชอบ

ไก่ทอด

วิชาที่ชอบ

คณิตศาสตร์

งานอดิเรก

เล่นเฟด





รูปภาพหมีแพนด้า


รูปภาพหมีแพนด้า


















ประวัติหลินปิง

Blog Name : หลินปิง
Search Terms For : หลินปิง
Top searches : หลินปิง[EXTRACT] 1. หลิน 100 2. หลิน ปิ ง 100 3. หลิน ปิ 95 4. แพนด้า 20 5. หมี แพนด้า 10 6. เพลง แพนด้า 5 7. แพนด้า น้อย 5 8. สวน สัตว์ เชียงใหม่ 5 9. เพลง หมี แพนด้า 0 10. หลิน ฮุ่ ย 0 Embed this table

Rising searches : หลินปิง[EXTRACT] 1. หลิน 100 2. หลิน ปิ ง 100 3. หลิน ปิ 95 4. แพนด้า 20 5. หมี แพนด้า 10 6. เพลง แพนด้า 5 7. แพนด้า น้อย 5 8. สวน สัตว์ เชียงใหม่ 5 9. เพลง หมี แพนด้า 0 10. หลิน ฮุ่ ย 0 Embed this table [EXTRACT] 1. สวน สัตว์ เชียงใหม่ Breakout 2. หมี แพนด้า Breakout 3. หลิน Breakout 4. หลิน ปิ Breakout 5. หลิน ปิ ง Breakout 6. เพลง แพนด้า Breakout 7. แพนด้า Breakout 8. แพนด้า น้อย Breakout Embed this table


นับจากวันแรกที่แพนด้าน้อย "หลินปิง" ออกมาสู่โลก ชาวไทยเราก็ได้อ่านข่าวเจ้าตัวน้อยนี้ทุกวัน ได้ดูวิวัฒนาการทุกวัน ตั้งชื่อให้เงินกันเป็นล้านๆ แต่จะมีใครสักกี่คนจำได้ว่าแพนด้าน้อยหลินปิง เกิดวันที่เท่าใหร่ เรามาดูวิวัฒนาการกันหน่อยจ้า
หลินปิง หลิินปิงแรกเกิด- สัตวแพทย์สวนสัตว์เชียงใหม่ดูแลแพนด้าน้อยหลินปิงที่เกิดจากแม่หลินฮุ่ย และพ่อช่วงช่วง ซึ่งตกลูกเองเมื่อวันที่ 27 พ.ค. หลังแพทย์ผสมเทียมเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา ส่วน ภาพเล็กหลินฮุ่ยคาบหลินปิงน้อยที่เพิ่งตกลูกออกมาใหม่ๆ

หลินปิง หลินปิงสมบูรณ์ - ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เพาะพันธุ์แพนด้าหยาอัน ประเทศจีน บินมาตรวจสอบสุขภาพแพนด้าน้อยหลินปิงแรกเกิดอย่างละเอียด พบว่าสมบูรณ์ดี และเป็นเพศเมีย ขณะที่ "หลินฮุ่ย" แม่แพนด้าก็มีสุขภาพดีเช่นกัน เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
หลินปิง แม่ลูก - หลินปิง อายุ 3 วัน ส่งเสียงร้องในอ้อมกอด"หลินฮุ่ย" แม่หมีมือใหม่ โดยสวนสัตว์เชียงใหม่เตรียมรับนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะหลั่งไหลมาดูแพนด้าแม่ลูกคู่นี้ล้นหลามช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
หลินปิงหลินปิงโตเร็ว - หลินปิง แพนด้าน้อยลูกของ"หลินฮุ่ย" ขนหูและขอบตาเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งที่เพิ่งมีอายุแค่ 5 วัน ผู้วชาญระบุเป็นสัญญาณดีว่ามีความแข็งแรงและโตเร็ว (1 มิ.ยง 52)
หลินปิง ไผ่พิเศษ - หลินฮุ่ยเริ่มกินใบไผ่เพื่อบำรุงร่างกายแล้ว โดยจัดหามาพิเศษจากยอดดอยอินทนนท์ พร้อมๆกับอุ้มลูกแพนด้าน้อยหลินปิงที่กำลังโตวันโตคืนอย่างทะนุถนอมไม่ยอมห่าง แต่ก็ทำหลุดมืออีกจนได้ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.

แพนด้าน้อยหลินปิง แข่งตั้งชื่อ- จนท.ตรวจสุขภาพแพนด้าน้อยหลินปิง พบขนหู ขอบตาและขา เริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำชัดเจนขึ้น ล่าสุดทางองค์การสวนสัตว์ เตรียมเปิดให้ประชาชนทั่วประเทศประกวดตั้งชื่อแพนด้าน้อยหลินปิง ชิงรางวัลเงินล้านแล้ว ตามข่าว

หลินปิง ขนมแพนด้า - จนท.สวนสัตว์เชียง ใหม่ แสดงกรรมวิธีปรุง "ขนมปังไผ่" อาหารโปรดหมีแพน ด้า ขณะที่ "หลินฮุ่ย" กับหลินปิงผ่านช่วง 7 วันอันตราย หมีน้อยเริ่มเลียนแบบแม่
หลินปิง เริ่มตั้งไข่- หลินปิง ลูกแพนด้าน้อย ซึ่งมีอายุเพียง 9 วัน เริ่มตั้งไข่ เดิน 4 ขาได้แล้ว โดยที่หูทั้ง 2 ข้างมีสีดำชัดเจนขึ้น ผู้ว ชาญจากประเทศจีนระบุหลินปิงมีสุขภาพแข็งแรงมาก น้ำหนักตัวก็เพิ่มขึ้นถึง 100 กรัม
หลินปิง หยอกล้อ - หลินฮุ่ย ใช้จมูกดันหยอกล้อกับหลินปิง ผู้เชีี่ยวชาญชี้เป็นการฝึกให้ลูกหมีช่วยตัวเอง โดยหลินฮุ่ยเริ่มให้หลินปิงนอนและยืนมากขึ้น ขณะที่ประชาชนทั่วประเทศทยอยส่งชื่อแพนด้าน้อยเข้าประกวด

หลินปิง หลินปิงโตวันโตคืน - ทีมสัตวแพทย์นำหลินปิง ออกมาตรวจสุขภาพหลังมีชีวิตได้ 11 วัน พบว่ามีพัฒนา การทางด้านร่างกายดีมาก น้ำหนักตัวก็เพิ่มขึ้น ขนก็เริ่มสมบูรณ์ เริ่มเดิน 4 ขาได้มั่นคง
หลินปิง หลินปิงตัวเมียแน่- สัตวแพทย์สวนสัตว์เชียงใหม่ นำแพนด้าน้อยหลินปิงมาหงายให้ดูรูป"ตัววีคว่ำ" อันแสดงว่าเป็นหมีเพศเมียอย่างแน่นอน พร้อมกันนี้เผยยอดคนที่เดินทางมาชมหลินปิงช่วง 11 วัน พุ่งถึง 3 หมื่นคนแล้ว
แพนด้าหลินปิง หลินปิงเริ่มซน - แพนด้าน้อยหลินปิงนอนกลิ้งขยับร่าง กาย แขนขา เมื่อแม่หลินฮุ่ยปล่อยวางลงบนพื้นห้องเลี้ยงสวนสัตว์เชียงใหม่ สัตว แพทย์ชี้เป็นพัฒนาการที่ดีทั้งแม่และลูกหมี
หลินปิง หลินปิงโตพรวด- หลินปิงเติบโตและมีชีวิตครบ 2 สัปดาห์ น้ำหนักพุ่งพรวดเป็น 500 กรัมแล้ว ผิวหนังเริ่มย่น ผู้วชาญจากจีนระบุจากนี้หลินฮุ่ยจะใช้ปากงับหนังหลินปิงแล้วลากไปกับพื้น แทนการคาบขึ้นมาอุ้ม ตามข่าว

แพนด้าน้อยหลินปิง หลินปิงสีขนชัดขึ้น- สภาพของลูกหมีแพนด้าหลินปิง มีขนสีดำขึ้นตามร่างกายอย่างชัดเจนมากกว่าเดิม ขณะที่องค์การสวนสัตว์และไปรษณีย์ไทย เปิดตัวไปรษณียบัตร ซึ่งจัดพิมพ์ถึง 30 ล้านใบ ให้ประชาชนส่งมาร่วมโหวตชื่อของหลินปิง
หลินปิง หลินปิงสุขสันต์- "หลินฮุ่ย" หยอกล้อกับหลินปิง ในกรงอย่างมีความสุข หลังกินอาหารได้มากขึ้น ขณะที่ "ช่วงช่วง" เริ่มร้องเรียกหาเมียและหลินปิง จากกรงใกล้ๆ กัน เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.
หลินปิง หลินปิงแข็งแรง - ทีมสัตวแพทย์นำหลินปิงตรวจสุขภาพอีกครั้งเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. พบว่าตัวโตขึ้นมาก มีน้ำหนัก 630 กรัม ขณะที่องค์การสวนสัตว์จะประกาศชื่อที่ประชาชนส่งประกวด 4 ชื่อที่เข้ารอบ เพื่อเริ่มโหวตในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ (13 มิ.ย. 52)

หลินฮุ่ย ฟูมฟักหลินปิง - "หลินฮุ่ย" กอดหลินปิงไว้กับอก แพนด้าน้อยหลินปิงโตวันโตคืนในสวนสัตว์เชียงใหม่ และจะคัดชื่อที่ส่งเข้ามากว่า 4 แสนชื่อให้เหลือ 4 ชื่อ ก่อนจะเริ่มโหวตตั้งแต่วันนี้ทั่วประเทศ
หลินปิง กล่อมลูก- "หลินฮุ่ย" จับลูกแพนด้าหลินปิงซุกไว้ในอ้อมกอดอย่างทะนุถนอม โดยหลินปิงตัวโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่สวนสัตว์เชียงใหม่ยืนยันจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมหลินปิงได้ในช่วงต้นเดือนก.ค.นี้
หลินปิง หลินปิงสมบูรณ์แข็งแรง- เจ้าหน้าที่นำหลินปิงมาตรวจสุขภาพล่าสุด พบว่าสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับ ส่วนภาพเล็ก คือ ด.ญ.พิชญ์สินี ไชยเชษฐ์ อายุ 7 ขวบ หนูน้อยชาวโคราช 1 ใน 4 ที่ชนะการประกวดตั้งชื่อแพนด้า ในชื่อ "หลินปิง"
หลินปิง โปร่งใส - หลินปิงซุกในอกแม่อย่างอบอุ่น โดยหลินฮุ่ยเริ่มปรับตัว ดูแลลูกได้เก่งขึ้น ทำลูกหล่นน้อยลง ขณะที่ทางสวนสัตว์โต้ข้อครหาโดยยืนยันว่า การตัดสินชื่อแพนด้าน้อยที่เข้ารอบสุดท้าย 4 ชื่อ โปร่งใส
หลินปิง หลินปิงหลับปุ๋ย - แพนด้า "หลินฮุ่ย" กับหลินปิงที่น้ำหนักขึ้นพรวดเป็น 1 ก.ก. แล้วนอนหลับกันอย่างมีความสุข ขณะที่สวนสัตว์เชียงใหม่เตรียมเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมหลินปิงในวันที่ 4-6 ก.ค.นี้ (18 มิ.ย. 52)

แพนด้าน้อยหลินปิง ใส่ถุงเท้า- หลินปิงเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้วชาญระบุเป็นแพนด้าที่มีลักษณะพิเศษ คือสีดำที่ขาหลัง แพนด้าทั่วไปจะมีสีดำจนถึงโคนขา แต่แพนด้าน้อยหลินปิงมีสีดำแค่หัวเข่าเหมือนใส่ถุงเท้าดำ (19 มิ.ย.52)
หลินปิง หวงลูก - "หลินฮุ่ย"นอนเล่นกับหลินปิงอย่างสบายใจ แต่ทีมสัตวแพทย์พบว่าแม่หมีแพนด้าเริ่มระแวงสัตวแพทย์และพี่เลี้ยง ไม่ยอมให้เข้าใกล้หลินปิง อาจมีปัญหาในการแยกหมีน้อยมาให้ประชาชนดูตัวเป็นๆ ช่วงวันที่ 4-6 ก.ค.นี้
หลินปิง

cedit by dekdee.com

หมีแพนด้า

                               หมีแพนด้า


หมีเเพนด้าคือสัตว์ที่มีถิ่นฐานกำเนิดจากประเทศจีน เป็นสัตว์ในตระกูลหมี ชอบกินใบไผ่เป็นที่สุด จนใครหลายๆ คนหลงเสน่ห์เจ้าหมีตัวขาวตาดำกันท้งนั้น เอาเป็นว่าเรามาทำความู้จักกับเจ้าหมีตัวเเพนด้ากันให้มากขึ้นกว่านี้ดีกว่า

สารบัญ

  ประวัติหมีเเพนด้า

เนื่องจากในสมัยดึกดำบรรพ์ แพนด้ายักษ์ หรือ ต้าสงเมา มีอยู่มากมาย กระจายตามถิ่นต่างๆทั่วประเทศจีน ในบันทึกเรื่องเกี่ยวกับแพนด้าของจีน จึงมีคำเรียกสัตว์ชนิดนี้ ในภาษาจีนแตกต่างหลากหลาย อาทิ ‘ผี’หรือ‘ผีซิ่ว’(ชื่อที่เรียกในสมัยโบราณ) ‘ไป๋สง’(หมีขาว) ‘ฮัวสง’(หมีลาย) ‘จู๋สง’(หมีไผ่) บางถิ่นเรียกแตกต่างออกไป เช่น แถบเทือกเขาหมินซันบริเวณถิ่นที่อยู่ของชนชาติทิเบต เรียก ‘ตั้ง’ หรือ ‘ตู้ต้งก่า’ แต่ชนชาติอี๋แถบเทือกเขาเหลียงซัน เรียก ‘เอ๋อชีว์’ เป็นต้น
熊猫 (สงเมา) คำเรียกแพนด้าในภาษาจีนกลาง ‘สง’แปลว่า หมี ‘เมา’แปลว่า แมว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ailuropoda melanoleuca แปลว่า สัตว์ที่มีลำตัวเป็นสีขาวดำ มีเท้าเหมือนแมว
‘สงเมา’ (แมวที่เหมือนหมี) เป็นคำเรียกในปัจจุบัน แต่จริงๆแล้ว ช่วงจีนก่อนยุคปลดแอกได้เคยเรียกแพนด้าว่า ‘เมาสง’(หมีที่เหมือนแมว)มาก่อนนะจ๊ะ 猫熊(เมาสง) เป็นศัพท์บัญญัติขึ้นในช่วงประวัติศาสตร์จีนยุคปัจจุบัน หมายถึง สัตว์ที่มีหน้าตากลมๆอ้วนๆคล้ายแมว แต่รูปร่างใหญ่คล้ายหมี จนบางคนถึงกับจัดมันให้อยู่ในประเภทเดียวกันกับหมี
เนื่องจากคนจีนในสมัยก่อนเวลาเขียนหนังสือจะเขียนตัวอักษรไล่จากบนลงล่างตามแนวตั้ง และอ่านจากแถวขวาไปซ้าย ซึ่งแตกต่างจากการเขียนในปัจจุบัน ที่เรียงตัวอักษรตามแนวนอน และอ่านจากซ้ายไปขวา มีครั้งหนึ่งเมื่อพิพิธภัณฑ์เป่ยเป้ย ในมณฑลซื่อชวน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแพนด้าในประเทศจีน ได้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าเมาสงนี้ และได้เขียนคำอธิบายตามแบบการเขียนในปัจจุบัน แต่บังเอิญมีผู้เข้าชมคนหนึ่งแกติดนิสัย การอ่านหนังสือแบบจีนรุ่นเก่า เลยอ่าน ‘เมาสง’ เป็น ‘สงเมา’ เสียนี่ ตั้งแต่นั้นจึงเรียกติดปากกันต่อๆมาอย่างผิดๆนี่แหละ
อย่างไรก็ตามจะแมวหมีหรือหมีแมว นักชีววิทยาก็จัดแพนด้าอยู่ในสัตว์ประเภทหมี ซึ่งแน่นอนไม่ใช่ประเภทเดียวกับแมวจ้า

  ลักษณะเด่น

ลักษณะที่โดดเด่นของ หมีแพนด้า คือมีขนสีดำและสีขาว บริเวณหัว คอ ตะโพก จะมีสีขาว ส่วนรอบๆตาทั้งสองข้าง หู ไหล่ ขาหน้า และขาหลังจะมีสีดำ หัวของหมีแพนด้า จะใหญ่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของตัว กว่าหมีชนิดอื่นๆ เท้าหน้ามี 6 นิ้ว พร้อมที่จะกางกว้างออกเมื่อปะทะกัน หรือปีนต้นไม้

  ขนาด

หมีแพนด้าเพศผู้ขนาดตัวโตเต็มที่ สูงประมาณ 160-190 ซม. จะสูงกว่าเพศเมียเล็กน้อย มีขาหน้าที่แข็งแรง และหนัก 85-125 กก. เพศเมียหนัก 70-100 กก. ลูกหมีเพิ่งคลอดหนักเพียง 85-140 กรัม

ถิ่นที่อยู่

หมีแพนด้าจะอาศัยอยู่ที่ระดับสูง 1200-3500 เมตร ในป่าเขา ซึ่งมีต้นไม้ไผ่ขึ้นหนาแน่น เเละจะพบหมีแพนด้าเพียงตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน แนวเขตที่ราบสูงของ ทิเบต ใน 6 พื้นที่เล็กๆ ของจังหวัด Sichuan Gansu และ Shaanzi รวมแล้วมีพื้นที่เพียง 14000 ตร.กม.
ภาพ:111.jpg

  การสื่อสาร

หมีแพนด้าจะใช้กลิ่น อะซิติค ที่หลั่งออกมาจากบริเวณ ต่อมที่อยู่ใกล้ๆกับอวัยวะสืบพันธุ์ ไว้ตามต้นไม้ ก้อนหิน และใช้เสียงในการกำหนดขอบเขต โดยส่วนมากจะเป็นหมีเพศผู้ ส่วนการใช้เสียงของหมีเพศเมีย จะมีในช่วงที่จะผสมพันธุ์

  อาหาร

อาหารของหมีแพนด้า 99% จะมาจากต้นไผ่ ตัวโตเต็มที่ จะกิน 12-15 กก./วัน แต่ถ้าเป็น ต้นหรือใบอ่อนของต้นไผ่ หมีแพนด้าสามารถกินได้ถึง 38 กก/วัน ซึ่งหนักถึง 40%ของน้ำหนักตัวมันเอง และอาหารอีกที่เหลือ จะเป็นพืชชนิดอื่นๆ รวมทั้งเนื้อด้วย ส่วนมาก หมีแพนด้าจะกินอาหารที่พื้น บางครั้งถึงจะปีนขึ้นไป กินอาหารบนต้นไม้

  การสืบพันธุ์

หมีแพนด้าพร้อมที่จะขยายพันธุ์เมื่ออายุ 4.5-6.5 ปี จะจับคู่ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ต้นเดือน มี.ค.-พ.ค.เพศเมียมีช่วงเวลาพร้อมที่จะผสมพันธุ์ 1-3 สัปห์ดา และ จะยอมให้มีการผสม 2-3 วันเท่านั้น จำนวนลูกที่คลอดออกมา มีเพียง 1-3 ตัว โดยปกติจะมีชีวิตรอดเพียงตัวเดียว ลูกหมีจะหย่านมเมื่ออายุ 9 เดือน แม่หมีแพนด้าจะคอยดูแลลูกตน จนกว่าจะถึง 18 เดือน

  ระบบสังคม

ส่วนมากหมีแพนด้าจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ตัวเดียว ยกเว้นหมีแพนด้าแม่ลูกอ่อน ในช่วงฤดูกาลให้นมลูก หมีเพศผู้จะต่อสู้กัน เพื่อแย่งเข้าไป หากลุ่มแม่หมี อาณาเขตของหมีเพศเมีย ปกติแล้ว จะอาศัยซึ่งกันและกัน อาณาเขต จะซ้อนทับกันเป็นบางครั้ง ในขณะที่หมีแพนด้าเพศผู้ จะมีอาณาเขตที่กว้างครอบคลุมหมีเพศเมียทั้งหมด
ภาพ:444.jpg

  กลเม็ดหาคู่

มีสามแบบสามวิธี วิธีแรกจีบด้วยกลิ่น โดยแพนด้าจะใช้ก้นถูๆ ตามโคนต้นไม้ ก้อนหิน และบนพื้นให้กลิ่นติด และโชยไปแตะจมูกฝ่ายตรงข้าม หรือวิธีที่สองจีบด้วยเสียงเพลง โดยขึ้นไปร้องเพลงรักไม่ซ้ำแบบบนต้นไม้บ้าง บนพื้นบ้าง เพื่อดึงดูดความสนใจของอีกฝ่าย เพลงยอดฮิตก็คือ เลียนเสียงร้องของนก หรือเสียงแพะ และวิธีการจีบกันจะแสดงออกด้วยท่าทาง โดยบางตัวอาจแสดงออกด้วยอาการหงุดหงิด อยู่ไม่สุข กัดกิ่งไม้บ้างตามประสา ฝากรอยข่วนไว้ตามต้นไม้ เพื่อให้เตะตาฝ่ายตรงข้าม เมื่อทั้งสองต่างปิ๊งกันก็เข้าหอกันในทุ่งกว้างตามเชิงเขา ก็มีบางตัวที่หนีขึ้นไปบนต้นไม้